ตอนที่ 7 : Call Center Trend ดัชนีการสำรวจเกี่ยวกับแนวโน้มและความชอบในด้านการสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค


ดัชนีการสำรวจประสบการณ์ของลูกค้า ในเอเชียแปซิฟิก

บทสรุป
เกี่ยวกับแนวโน้มและความชอบในด้านการสร้างความผูกพันกับผู้บริโภค

•    ลูกค้าในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกรวมถึงสิงคโปร์ยังเป็นประเทศที่ไม่ชอบ และไม่ผ่อนปรนกับการให้บริการที่แย่
•    ความชื่นชอบสำหรับการสื่อสารหลากหลายช่องทาง ยังคงมีความโดดเด่น
•    วิดีโอ ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาเป็นช่องทางใหม่ที่ทุกคนชื่นชอบ เช่นเดียวกับการรับเอาโซเชียลมีเดีย แอพพลิเคชั่น อีเมล์ และการแชท เพื่อดึงดูดความสนใจเพิ่มขึ้น
•    ธุรกิจบริการต้อนรับ เช่น โรงแรม ตามด้วยธุรกิจค้าปลีก เป็นผู้รับเอาช่องทางใหม่มาใช้ที่เร็วที่สุด พร้อมกับลดการพึ่งพาวิธีการใช้โทรศัพท์รูปแบบเดิม

รายละเอียดการสำรวจ
1.    ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การรับบริการกับความจงรักภักดีต่อแบรนด์สินค้า
•    ผู้บริโภคร้อยละ 83 มักจะหลีกเลี่ยงการซื้อสินค้า หรือบริการเพิ่มที่มาจากบริษัทเดียวกันมากขึ้น  หากพวกเขาได้รับประสบการณ์ในการให้บริการลูกค้าที่ไม่ดี
•    ผู้บริโภคร้อยละ 83 มักจะแนะนำเพื่อน หรือครอบครัว ให้หลีกเลี่ยงบริษัทที่ให้บริการลูกค้าที่ไม่ดีกับเขา - เป็นการแสดงนัยของการพูดปากต่อปาก
•    ลูกค้าร้อยละ 70 ยอมรับว่าพวกเขาจะซื้อของจากผู้จำหน่ายรายเดียวกันมากขึ้น หากพวกเขาได้รับบริการที่ดี
•    ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก จะมีค่าการติดต่อพูดคุยระหว่างบริษัทกับลูกค้าโดยเฉลี่ย 3.7 ครั้ง ก่อนที่จะสามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้ เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3.1 ครั้งในสิงคโปร์

2.    การให้บริการลูกค้าตลอดปีที่ผ่านมา
•    ผู้บริโภคชาวสิงคโปร์ร้อยละ 47 ยอมรับว่า บริการที่ได้รับจากศูนย์บริการลูกค้ามีการปรับปรุงดีขึ้นในช่วงเวลา 12 เดือนล่าสุด  ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 60 
•   เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ได้รับการปรับปรุงมากที่สุด
•   โดยประเทศไทยอยู่ในอันดับแรกที่ ร้อยละ 82 ตามด้วยอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ที่ร้อยละ 79 
•   อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคมากกว่าร้อยละ 65 ในสิงคโปร์ ยอมรับว่าการติดต่อพูดคุยกับศูนย์บริการลูกค้ายังคงมีปัญหา  โดยตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิกที่ร้อยละ 50

3.    ความชื่นชอบสำหรับการสื่อสารหลากหลายช่องทางเมื่อเทียบกับการสื่อสารเพียงช่องทางเดียว
•    ร้อยละ 60 (ในปี 2012) ถึงร้อยละ 75 ของปีนี้ พบว่าความชอบสำหรับการสื่อสารหลายช่องทาง ยังคงมีความโดดเด่นตลอดทั้งภูมิภาค นั่นคือ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสอบถาม
•   ในกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก ยอมรับว่า พวกเขารู้สึกพอใจ ที่สามารถใช้วิธีการติดต่อที่หลากหลายในการพูดคุยกับศูนย์บริการลูกค้า  สิ่งที่น่าสังเกตคือ ความชอบของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่อันดับสูงสุด (ประเทศไทยร้อยละ 90 ฟิลิปปินส์ร้อยละ 87 อินโดนีเซียร้อยละ 79 และสิงคโปร์ร้อยละ 72)

4.    ลูกค้าเต็มใจที่จะจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้นสำหรับการได้รับบริการที่ดีกว่า

•    ผู้บริโภคร้อยละ 70 ในกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก ยอมใช้จ่ายเงินมากขึ้นให้กับบริษัทต่างๆ ซึ่งให้บริการที่ดี  และสัดส่วนนี้จะมีค่าสูงขึ้นท่ามกลางกลุ่มวัยรุ่นถึงวัยทำงาน เมื่อเทียบกับ กลุ่มผู้ใหญ่ที่อายุมากกว่า


สำรวจโดย : Avaya, Contact CenterIndex, Survey, Customer Service